บริการสืบค้น

Custom Search
อยู่ห่างจากตัวเมืองไปทางทิศใต้ตามทางหลวงหมายเลข 304(นครราชสีมา-ปักธงชัย) ระยะทาง 18 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายเข้าถนนเฉลิมพระเกียรติ ร.9 (ทางหลวงหมายเลข 2310) อีกประมาณ 1 กิโลเมตร หากเดินทางรถโดยสารจากตัวเมืองสามารถใช้บริการรถปรับอากาศสาย 1415 (สุรนารี-สวนสัตว์)
สวนสัตว์นครราชสีมามีพื้นที่กว้างขวางถึง 545 ไร่ เป็นสวนสัตว์แบบซาฟารีกึ่งเปิดและปิดที่ทันสมัยได้มาตรฐานที่สุดแห่งหนึ่งในเอเชีย คอกสัตว์กว้างขวาง จัดสภาพแวดล้อมให้สอดคล้องกับนิสัยสัตว์แต่ละชนิด ส่วนใหญ่เป็นสัตว์ป่าแอฟริกา ที่น่าสนใจ ได้แก่ นกเพนกวิน แมวน้ำ ช้างแอฟริกา แรด เสือชีต้าห์ สิงโต ม้าลาย ยีราฟ เป็นต้น และยังมีอาคารจัดแสดงสัตว์เลื้อยคลาน และสวนนกเงือก จึงเหมาะแก่การทัศนศึกษาเรียนรู้ชีวิตสัตว์และพักผ่อนหย่อนใจ ภายในสวนตกแต่งด้วยไม้ดอกไม้ประดับสวยงาม มีบริการรถพ่วงวิ่งรอบบริเวณ รวมทั้งจักรยานให้เช่าอีกด้วย เปิดให้เข้าชมทุกวันระหว่างเวลา 08.00-18.00 น. อัตราค่าเข้าชม เด็ก 10 บาท

ผู้ใหญ่ 30 บาท นักเรียน 5 บาท รถ 4 ล้อ 30 บาท สอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. 0 4435 7355 หรือ website: http://www.zoothailand.org/
เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๗๔ หลวงชาญนิคมพร้อมด้วยบุตรภรรยา ได้สร้างวัดให้เป็นสำนักสงฆ์วัดหนึ่งท่านเจ้าคุณพระพรหมมุนี(ติสสเถระ) เจ้าคณะมณฑลนครราชสีมา ให้นามว่า "วัดป่าสาลวัน" เพราะบริเวณสร้างวัดนี้โดยมากเป็นป่าไม้เต็งรัง และที่อันนี้เป็นที่ดินสวนของหลวงชาญนิคม พื้นดินเป็นทราย ภูมิฐานสูงกลาง ห่างจากหมู่บ้านประมาณ ๓๐-๔๐ เส้น ห่างสถานีรถไฟโคราช ๓๐ เส้นเศษ
ทิศตะวันออก จดหนองแก้ช้างทิศตะวันตก จดทางหลวงทิศเหนือ ติดทางเกวียนทิศใต้ จดนาหนองรี
เมื่อสมัยย้อนหลังไปประมาณ ๓๐ กว่าปี วัดป่ายังเป็นป่าอยู่ ส่วนมากป่าไม้ไผ่ก็มากแต่เดี๋ยวนี้มีน้อยมาก บริเวณรอบวัด ภายนอกกำแพงเป็นทางเกวียนรอบวัด ทางศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน(ทิศตะวันตกเฉียงใต้ของวัด)เมื่อก่อนเป็นป่าช้าทั้งหมด ทางด้านอนามัย(ทิศใต้ของวัด)เป็นทุ่งนา ซึ่งชาวบ้านเขาเอาดินเหนียวมาปั้นเป็นอิฐมอญเผาขายกัน เดี๋ยวนี้ เป็นหมู่บ้านโฮมแลน ส่วนด้านข้างเมรุหรือเมรุเผาศพ(ทุบทิ้งแล้ว) ปัจจุบันเป็นหนองน้ำเมื่อก่อนเขาเรียกหนองน้ำนี้ว่าหนองแก้ช้าง เดี๋ยวนี้ยังเป็นหนองอยู่ เมื่อก่อนบริเวณนี้เป็นป่าไผ่มากและเป็นหนองน้ำ อยู่ตรงกลางเป็นหนองเล็กๆ เท่านั้น แต่ปัจจุบันเป็นหนองใหญ่อยู่นอกกำแพงข้างเมรุ เมื่อก่อนจะมีกองเกวียนผ่านบริเวณแห่งนี้และควาญช้างนำช้างผ่านมาทางนี้เป็นประจำ จะมาพักอยู่บริเวณหนองน้ำนี้ ชาวบ้านจึงเรียกหนองนี้ว่าหนองแก้ช้างอยู่ทุกวันนี้ และรอบวัดก็จะผ่านเป็นประจำเหมือนกัน เมื่อก่อนบริเวณนี้เป็นป่าเปลี่ยวมาก      
โบสถ์น้ำ (สิมน้ำ) ปัจจุบันเป็นบริเวณหนองแก้ช้าง    หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม ผู้ก่อตั้งวัดป่าสาลวันเมื่อก่อนไม่ค่อยมีคนมาทำบุญมากเหมือนปัจจุบัน พระก็ไม่มากเท่าไหร่ และประมาณ ๓ โมงเย็นก็ไม่มีใครกล้าเข้าวัดกันแล้ว รอบบริเวณวัดก็ไม่มีคนผ่าน รถก็ไม่ค่อยมี สิ่งที่เหลือภายในวัดตอนนี้ ศาลาไม้ หลังเก่าคือศาลาที่ใช้ทำวัตรเช้าเย็นเป็นประจำ หอระฆังเก่าและกุฏิอยู่ข้างหอระฆังเหลือประมาณ ๖ หลังด้วยกัน ส่วนศาลาเล็กนั้นลื้อไปหมดแล้วเหลือบันไดปูนและแท็งก์น้ำปูนเก่าข้างกุฏิห้าแสนหลังใหม่ ส่วนกุฏิหลวงปู่อ่อนหลังเก่าก็ลื้อไปหมดแล้วเหลือแต่หลังใหม่อยู่ ส่วนเสาธงเมื่อก่อนยังมีเสาและธงแต่ตอนนี้เหลืออยู่แต่ฐานเท่านั้น และที่เผาศพของหลวงปู่สิงห์ยังเหลืออยู่ข้างวิหารใหม่
ปัจจุบันวัดป่าสาลวันมีเนื้อที่ ๔๓ ไร่ ๑ งาน ๖๘ ตารางวา มีกุฏิ ๘๔ หลัง มีศาลาการเปรียญ วิหาร อุโบสถ สำนักงานสงฆ์ พระตำหนัก โรงครัว โรงไฟ ห้องเก็บพัสดุ วัดป่ามีอาณาเขตติดต่อดังนี้
ทิศตะวันออก จดทางสาธารณประโยชน์หนองแก้ช้าง
ทิศตะวันตก จดทางสาธารณประโยชน์ที่ดินการรถไฟ
ทิศเหนือ จดทางสาธารณประโยชน์ที่ดินการรถไฟ
ทิศใต้ จดที่มีการครอบครองหนองแก้ช้าง
จำนวนพระภิกษุ สามเณรจำพรรษาที่วัดป่าสาลวันในแต่ละปี มีดังนี้
ปี ๒๕๓๘ พระภิกษุ ๗๘ รูป สามเณร ๖ รูป
ปี ๒๕๓๙ พระภิกษุ ๙๐ รูป สามเณร ๕ รูป
ปี ๒๕๔๐ พระภิกษุ ๕๐ รูป สามเณร ๒ รูป
ปี ๒๕๔๑ พระภิกษุ ๘๕ รูป สามเณร - รูป
ปี ๒๕๔๒ พระภิกษุ ๗๕ รูป สามเณร - รูป
ปี ๒๕๔๓ พระภิกษุ ๗๒ รูป สามเณร - รูป
ปี ๒๕๔๔ พระภิกษุ ๖๕ รูป สามเณร ๒ รูป
ลำดับเจ้าอาวาสวัดป่าสาลวัน
๑. พระญาณวิศิษฏ์สมิทธิวีราจารย์ (สิงห์ ขนฺตยาคโม)
๒. พระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ
๓. พระสุธรรมคณาจารย์ (แดง ธมฺมรกฺขิโต)
๔. พระราชสังวรญาณ (พุธ ฐานิโย)
๕. พระมงคลวัฒนคุณ (หลวงพ่อเพิ่ม) เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน


ตั้งอยู่ในตัวเมือง หลังสถานีรถไฟนครราชสีมา เป็นวัดหนึ่งที่ได้เก็บรักษาพระบรมสารีริกธาตุ อัฐิธาตุของเกจิอาจารย์ที่เป็นที่เคารพบูชาของศาสนิกชนโดยทั่วไป คือ อาจารย์เสาร์ อาจารย์มั่น รวมทั้งอัฐิของอาจารย์สิงห์ อดีตเจ้าอาวาสที่ได้บุกเบิกสร้างวัดแห่งนี้ 
วัดป่าสาลวัน เป็นสถานปฏิบัติธรรมวัดหนึ่งที่สำคัญยิ่ง ของพระสงฆ์พุทธศาสนิกชนโดยทั่วไป ถือเป็นฐานปฏิบัติธรรมที่สำคัญมาอย่างยาวนานกว่า ๗๔ ปี ด้วยเป็นแหล่งรวมของพระปฏิบัติวิปัสนากรรมฐานแห่งกองทัพธรรม 
พระคุณเจ้าแต่ละรูปที่ได้ร่วมสร้างและถือปฏิบัติยังวัดป่าสาลวันแห่งนี้ ล้วนเป็นพระที่สร้างคุณูปการให้กับวงการศาสนาอย่างใหญ่หลวง อาทิ หลวงปู่เสาร์ กันตะสีโล หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต หลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโม พระอาจารย์พร สุมโน และหลวงพ่อพุธ ฐานิโย พระคุณเจ้าทุกรูปดังที่กล่าวมานี้ล้วนแล้วแต่เป็นที่นับถือศรัทธาของสาธุชนอย่างไม่เสื่อมคลาย แม้จะมรณภาพละสังขารไปแล้วก็ตาม 
ด้วยศรัทธาที่เปี่ยมในความเป็นอริยสงฆ์แห่งพระพุทธศาสนา จึงเป็นแนวคิดการก่อสร้างบูรพาจารย์เจดีย์ หลวงพ่อพุธ ฐานิโย ในเวลาต่อมา เพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งการระลึกถึงในวัตรปฏิบัติ และเป็นสถานที่กราบไหว้บูชาบูรพาจารย์แต่ละรูป พร้อมทั้งยังเป็นแนวทางประพฤติปฏิบัติอันเป็นแบบอย่างของสงฆ์และฆราวาสสืบไป 

สำคัญที่สุด ณ บูรพาจารย์เจดีย์แห่งนี้ ยังเป็นที่ประดิษฐานองค์พระบรมสารีริกธาตุ อัฐิธาตุแห่งบูรพาจารย์และของหลวงพ่อพุธ เพื่อให้พุทธศาสนิกชน และประชาชนไว้เป็นที่เคารพกราบไหว้ เป็นเครื่องเตือนใจเตือนสติในแนวทางแห่งพระธรรมคำสอน อันจะส่งผลให้เกิดความสงบร่มเย็น ต่อสังคม 

ตั้งอยู่ที่ตำบลหัวทะเล ห่างจากตัวเมืองไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ราว 1 กิโลเมตร เป็นวัดธรรมยุติ เดิมบริเวณวัดเป็นป่าทึบ และมีพระพุทธรูปนั่งองค์ใหญ่ ปางป่าเลไลยก์ ทำจากหินประดิษฐานอยู่กลางแจ้ง ต่อมาจึงได้สร้างพระอุโบสถครอบไว้ ในวัดนี้มีเจดีย์ใหญ่สร้างครอบเจดีย์องค์เดิมที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งอัญเชิญมาจากเชียงตุง
พระปางป่าเลไลยก์เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นประทับนั่งห้อยพระบาท พระหัตถ์ซ้ายคว่ำ พระหัตถ์ขวาหงายขนาด หน้าตักกว้าง ๓.๑๐ เมตร สูง ๕.๑๐ เมตร ศิลปะสมัยอยุธยาตอนปลาย พุทธศตวรรษที่ ๒๒ - ๒๓ ประดิษฐาน เป็นพระ พุทธปฏิมาประธานในพระอุโบสถ เดิมประดิษฐาน อยู่กล้างแจ้ง
   ต่อมาเมื่อได้สร้างอุโบสถครอบองค์พระด้านหลังอุโบสถมีพระสัมมาสัมพุทธเจดีย์ศรีสิงหนาทเป็นเจดีย์ที่สร้างครอบองค์เดิมไว้ ภายในประดิษ ฐานพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งได้อัญเชิญมาจากเมืองเชียงตุง วัดศาลาทองเป็นวัดเก่าแก่โบราณ สร้างในสมัยขอมเรืองอำนาจ ตั้งอยู่บ้านหัวทะเล ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา มีเนื้อที่ประมาณ ๕๐ ไร่เศษ เดิมเรียกว่า "วัดป่าเลไลยก์" ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "วัดป่าเลไลยก์ ทอง" เมื่อสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โปรดฯให้สร้างเมือง "โฆราฆะปุระ" เป็นเมือง "นครราชสีมา" แล้ววัดนี้จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น "วัดศาลาทอง" สืบมาถึงปัจจุบัน







ด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของตัวเมือง โดยแยกจากถนนรอบเมืองไปประมาณ 500 เมตร วัดนี้ตั้งอยู่ติดกับลำตะคองซึ่งไหลพาดผ่านตอนเหนือของตัวเมืองไปลงสู่แม่น้ำมูล   ท้าวสุรนารีกับท่านปลัดสามีสร้างขึ้นเมื่อปี  พ.ศ. 2370 
จุดเด่นของวัดอยู่ที่พระอุโบสถซึ่งได้รับรางวัลดีเด่นแนวบุกเบิกอาคารทางศาสนา จากสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ และรางวัลจากมูลนิธิเสฐียรโกเศศและนาคะประทีป ในปี พ.ศ. 2516 เป็นอุโบสถที่สร้างแบบศิลปไทยประยุกต์ เป็นรูปสำเภาโต้คลื่น ใช้วัสดุพื้นเมืองคือกระเบื้องดินเผาด่านเกวียนนำมาประดับตกแต่ง เช่น ผนังด้านหน้าอุโบสถเป็นภาพพุทธประวัติตอนมารผจญ ผนังด้านหลังเป็นภาพตอนพระพุทธเจ้าเสด็จลงมาจากดาวดึงส์ ส่วนบานประตูเป็นโลหะลายนูน ภาพเล่าเรื่องเวชสันดรชาดก (13 กัณฑ์) ภายในมีพระประธานปูนปั้นสีขาว ปางห้ามสมุทร เป็นพระพุทธรูปยืนประทับ ณ ประตูเมืองสังกัสนคร 



หน้าประตูอุโบสถมีปูนปั้นรูปท้าวสุรนารีนั่งพนมมือกลางสระน้ำ ตัวอุโบสถล้อมรอบด้วยกำแพงแก้วรูปเสมา สัญลักษณ์ของเมืองเสมาเดิม ด้านข้างมีสถูปขนาดเล็กซึ่งเคยใช้เป็นที่บรรจุอัฐิท้าวสุรนารี