บริการสืบค้น

Custom Search
ตั้งอยู่หมู่ที่ 7 ตำบลสุรนารี การเดินทางใช้ทางหลวงหมายเลข 304 (นครราชสีมา-ปักธงชัย) ระยะทาง 19 กิโลเมตร แยกขวาเข้าไปทางมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (ประตูที่ 2) อีก 3 กิโลเมตร แยกซ้ายเข้าถนนเลี่ยงเมืองสายมิตรภาพ-หนองปลิงอีก 2 กิโลเมตรถึงวัดโกรกเดือนห้าซึ่งปัจจุบันเป็นที่เก็บไม้กลายเป็นหินซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมากกว่าหมื่นชิ้น ในบริเวณนี้มีการขุดพบเศษไม้ ท่อนไม้กลายเป็นหินตั้งแต่ระดับผิวดินถึงระดับความลึก 8 เมตร มีขนาดต่างๆ กัน ตั้งแต่ขนาดกรวดจนถึงขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า 50 เซนติเมตร และบางชิ้นมีความยาวมากกว่า 1 เมตร มีสีสันหลากหลาย ทั้งในก้อนเดียวจนถึงต่างก้อนกัน มีอายุอยู่ในช่วงประมาณ 1 ถึง 70 ล้านปี จังหวัดนครราชสีมามีโครงการจัดสร้างเป็นอุทยานไม้กลายเป็นหินและพิพิธภัณฑ์แห่งแรกของเอเชีย เพื่อเป็นการอนุรักษ์ซากดึกดำบรรพ์นี้ไว้ให้เป็นมรดกให้ชนรุ่นหลังได้ศึกษาต่อไป


ไม้กลายเป็นหิน หมายถึง ไม้ในสมัยดึกดำบรรพ์ที่เปลี่ยนแปลงสภาพเป็นหิน ซึ่งเกิดจากเนื้อไม้เดิมถูกแทนที่ด้วยแร่ธาตุ

“ไม้กลายเป็นหินตามแหล่งต่างๆของโลกนั้น มีสาเหตุมาจากหลักใหญ่ 2 ประการ คืออิทธิพลของภูเขาไฟ เกิดจากการทับถมของพื้นที่ป่าไม้ หรือที่ราบที่มีท่อนไม้ฝังอยู่ ด้วยเถ้าภูเขาไฟ หรือฝุ่นภูเขาไฟ ซึ่งมีซิลิกาเป็นองค์ประกอบอยู่มาก ตะกอนดังกล่าวเมื่อผุพังสลายตัว ซิลิกาบางส่วนจะอยู่ในรูปสารละลายในน้ำใต้ดิน สามารถแทรกซึมเข้าไปแทนที่เนื้อไม้อย่างช้าๆจนกระทั่งเข้าไปแทนที่ทั้งหมด”

ส่วนสาเหตุประการที่สองนั้น ผศ.ดร.ประเทืองอธิบายว่า เกิดจากอิทธิพลของน้ำท่วม ทำให้มีการพัดพาตะกอน กรวด ทราย ดิน จำนวนมาก ไปทับถมส่วนของต้นไม้เอาไว้ และสารละลายจากน้ำใต้ดินจะค่อยแทรกซึมไปแทนที่เนื้อไม้ จนกระทั่งเนื้อไม้กลายเป็นหิน
ผศ.ดร.ประเทือง อธิบายถึงความสำคัญของไม้กลายเป็นหินว่า ไม่เพียงเป็นแค่ซากดึกดำบรรพ์ที่เก่าแก่ไปตามกาลเวลา แต่เปรียบเสมือนกุญแจไขสู่โลกในอดีต และมีความสำคัญทางวิชาการในด้านต่างๆ


“ในด้านสาขาชีววิทยา พฤกษศาสตร์และบรรพชีวินวิทยา ไม้กลายเป็นหิน มีประโยชน์ต่อการศึกษาเชิงวิวัฒนาการเพื่อจำแนกชนิดพืช ไม่ต่างจากการศึกษาฟอสซิล โดยนำมาพิจารณาถึงการเปลี่ยนแปลงของพืชพรรณ รวมถึงสภาพแวดล้อมในอดีต ส่วนในด้านสาขาธรณีวิทยา นับเป็นหลักฐานสำคัญต่อการอธิบายปรากฏการณ์ทางธรณีวิทยา เช่น การแยกตัวของแผ่นดินในทวีปต่างๆ สภาพผืนดินในยุคดึกดำบรรพ์ รวมทั้งสามารถนำมาศึกษาปรากฏการณ์การสูญพันธุ์ การล้มตายของไดโนเสาร์ หรือช่วยบอกอายุของชั้นหิน หรือตะกอน ซึ่งจำเป็นสำหรับการจัดลำดับชั้นหิน ทั้งยังบอกสภาพแวดล้อมของโลกในแต่ละช่วงเวลา เช่น ภูมิอากาศ ปริมาณฝน ฤดูกาล พืชพรรณธรรมชาติ ไม่แตกต่างจากการศึกษาฟอสซิลชนิดหนึ่ง”
ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยฯ ยังเผยว่า ในประเทศไทยสามารถพบไม้กลายเป็นหินได้มากที่สุด ในพื้นที่ภาคอีสาน เนื่องจากเป็นที่ราบซึ่งเคยเกิดน้ำท่วมใหญ่ มีการพัดพาซากไม้ และตะกอน ในระดับที่ลึกจนเกิดเป็นปรากฏการณ์ดังกล่าวได้

“ไม้กลายเป็นหิน พบได้มากในพื้นที่ นครราชสีมา ขอนแก่น บุรีรัมย์ สุรินทร์ ชัยภูมิ ประเทศไทยจึงนับเป็นแหล่งสำคัญในเอเชีย โดยเฉพาะที่จังหวัดตาก มีไม้กลายเป็นหินที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกในพื้นที่ป่าสงวน ส่วนที่เหมืองถ่านหินจังหวัดเลย ก็มีไม้กลายเป็นหินที่มีอายุมากกว่า 300 ล้านปี รวมถึงพื้นที่อื่นๆในภาคอีสานก็ล้วนแต่มีอายุไม่ต่ำกว่า 100 ล้านปี”
อยู่ห่างจากตัวเมืองไปทางทิศใต้ตามทางหลวงหมายเลข 304(นครราชสีมา-ปักธงชัย) ระยะทาง 18 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายเข้าถนนเฉลิมพระเกียรติ ร.9 (ทางหลวงหมายเลข 2310) อีกประมาณ 1 กิโลเมตร หากเดินทางรถโดยสารจากตัวเมืองสามารถใช้บริการรถปรับอากาศสาย 1415 (สุรนารี-สวนสัตว์)
สวนสัตว์นครราชสีมามีพื้นที่กว้างขวางถึง 545 ไร่ เป็นสวนสัตว์แบบซาฟารีกึ่งเปิดและปิดที่ทันสมัยได้มาตรฐานที่สุดแห่งหนึ่งในเอเชีย คอกสัตว์กว้างขวาง จัดสภาพแวดล้อมให้สอดคล้องกับนิสัยสัตว์แต่ละชนิด ส่วนใหญ่เป็นสัตว์ป่าแอฟริกา ที่น่าสนใจ ได้แก่ นกเพนกวิน แมวน้ำ ช้างแอฟริกา แรด เสือชีต้าห์ สิงโต ม้าลาย ยีราฟ เป็นต้น และยังมีอาคารจัดแสดงสัตว์เลื้อยคลาน และสวนนกเงือก จึงเหมาะแก่การทัศนศึกษาเรียนรู้ชีวิตสัตว์และพักผ่อนหย่อนใจ ภายในสวนตกแต่งด้วยไม้ดอกไม้ประดับสวยงาม มีบริการรถพ่วงวิ่งรอบบริเวณ รวมทั้งจักรยานให้เช่าอีกด้วย เปิดให้เข้าชมทุกวันระหว่างเวลา 08.00-18.00 น. อัตราค่าเข้าชม เด็ก 10 บาท

ผู้ใหญ่ 30 บาท นักเรียน 5 บาท รถ 4 ล้อ 30 บาท สอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. 0 4435 7355 หรือ website: http://www.zoothailand.org/
เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๗๔ หลวงชาญนิคมพร้อมด้วยบุตรภรรยา ได้สร้างวัดให้เป็นสำนักสงฆ์วัดหนึ่งท่านเจ้าคุณพระพรหมมุนี(ติสสเถระ) เจ้าคณะมณฑลนครราชสีมา ให้นามว่า "วัดป่าสาลวัน" เพราะบริเวณสร้างวัดนี้โดยมากเป็นป่าไม้เต็งรัง และที่อันนี้เป็นที่ดินสวนของหลวงชาญนิคม พื้นดินเป็นทราย ภูมิฐานสูงกลาง ห่างจากหมู่บ้านประมาณ ๓๐-๔๐ เส้น ห่างสถานีรถไฟโคราช ๓๐ เส้นเศษ
ทิศตะวันออก จดหนองแก้ช้างทิศตะวันตก จดทางหลวงทิศเหนือ ติดทางเกวียนทิศใต้ จดนาหนองรี
เมื่อสมัยย้อนหลังไปประมาณ ๓๐ กว่าปี วัดป่ายังเป็นป่าอยู่ ส่วนมากป่าไม้ไผ่ก็มากแต่เดี๋ยวนี้มีน้อยมาก บริเวณรอบวัด ภายนอกกำแพงเป็นทางเกวียนรอบวัด ทางศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน(ทิศตะวันตกเฉียงใต้ของวัด)เมื่อก่อนเป็นป่าช้าทั้งหมด ทางด้านอนามัย(ทิศใต้ของวัด)เป็นทุ่งนา ซึ่งชาวบ้านเขาเอาดินเหนียวมาปั้นเป็นอิฐมอญเผาขายกัน เดี๋ยวนี้ เป็นหมู่บ้านโฮมแลน ส่วนด้านข้างเมรุหรือเมรุเผาศพ(ทุบทิ้งแล้ว) ปัจจุบันเป็นหนองน้ำเมื่อก่อนเขาเรียกหนองน้ำนี้ว่าหนองแก้ช้าง เดี๋ยวนี้ยังเป็นหนองอยู่ เมื่อก่อนบริเวณนี้เป็นป่าไผ่มากและเป็นหนองน้ำ อยู่ตรงกลางเป็นหนองเล็กๆ เท่านั้น แต่ปัจจุบันเป็นหนองใหญ่อยู่นอกกำแพงข้างเมรุ เมื่อก่อนจะมีกองเกวียนผ่านบริเวณแห่งนี้และควาญช้างนำช้างผ่านมาทางนี้เป็นประจำ จะมาพักอยู่บริเวณหนองน้ำนี้ ชาวบ้านจึงเรียกหนองนี้ว่าหนองแก้ช้างอยู่ทุกวันนี้ และรอบวัดก็จะผ่านเป็นประจำเหมือนกัน เมื่อก่อนบริเวณนี้เป็นป่าเปลี่ยวมาก      
โบสถ์น้ำ (สิมน้ำ) ปัจจุบันเป็นบริเวณหนองแก้ช้าง    หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม ผู้ก่อตั้งวัดป่าสาลวันเมื่อก่อนไม่ค่อยมีคนมาทำบุญมากเหมือนปัจจุบัน พระก็ไม่มากเท่าไหร่ และประมาณ ๓ โมงเย็นก็ไม่มีใครกล้าเข้าวัดกันแล้ว รอบบริเวณวัดก็ไม่มีคนผ่าน รถก็ไม่ค่อยมี สิ่งที่เหลือภายในวัดตอนนี้ ศาลาไม้ หลังเก่าคือศาลาที่ใช้ทำวัตรเช้าเย็นเป็นประจำ หอระฆังเก่าและกุฏิอยู่ข้างหอระฆังเหลือประมาณ ๖ หลังด้วยกัน ส่วนศาลาเล็กนั้นลื้อไปหมดแล้วเหลือบันไดปูนและแท็งก์น้ำปูนเก่าข้างกุฏิห้าแสนหลังใหม่ ส่วนกุฏิหลวงปู่อ่อนหลังเก่าก็ลื้อไปหมดแล้วเหลือแต่หลังใหม่อยู่ ส่วนเสาธงเมื่อก่อนยังมีเสาและธงแต่ตอนนี้เหลืออยู่แต่ฐานเท่านั้น และที่เผาศพของหลวงปู่สิงห์ยังเหลืออยู่ข้างวิหารใหม่
ปัจจุบันวัดป่าสาลวันมีเนื้อที่ ๔๓ ไร่ ๑ งาน ๖๘ ตารางวา มีกุฏิ ๘๔ หลัง มีศาลาการเปรียญ วิหาร อุโบสถ สำนักงานสงฆ์ พระตำหนัก โรงครัว โรงไฟ ห้องเก็บพัสดุ วัดป่ามีอาณาเขตติดต่อดังนี้
ทิศตะวันออก จดทางสาธารณประโยชน์หนองแก้ช้าง
ทิศตะวันตก จดทางสาธารณประโยชน์ที่ดินการรถไฟ
ทิศเหนือ จดทางสาธารณประโยชน์ที่ดินการรถไฟ
ทิศใต้ จดที่มีการครอบครองหนองแก้ช้าง
จำนวนพระภิกษุ สามเณรจำพรรษาที่วัดป่าสาลวันในแต่ละปี มีดังนี้
ปี ๒๕๓๘ พระภิกษุ ๗๘ รูป สามเณร ๖ รูป
ปี ๒๕๓๙ พระภิกษุ ๙๐ รูป สามเณร ๕ รูป
ปี ๒๕๔๐ พระภิกษุ ๕๐ รูป สามเณร ๒ รูป
ปี ๒๕๔๑ พระภิกษุ ๘๕ รูป สามเณร - รูป
ปี ๒๕๔๒ พระภิกษุ ๗๕ รูป สามเณร - รูป
ปี ๒๕๔๓ พระภิกษุ ๗๒ รูป สามเณร - รูป
ปี ๒๕๔๔ พระภิกษุ ๖๕ รูป สามเณร ๒ รูป
ลำดับเจ้าอาวาสวัดป่าสาลวัน
๑. พระญาณวิศิษฏ์สมิทธิวีราจารย์ (สิงห์ ขนฺตยาคโม)
๒. พระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ
๓. พระสุธรรมคณาจารย์ (แดง ธมฺมรกฺขิโต)
๔. พระราชสังวรญาณ (พุธ ฐานิโย)
๕. พระมงคลวัฒนคุณ (หลวงพ่อเพิ่ม) เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน


ตั้งอยู่ในตัวเมือง หลังสถานีรถไฟนครราชสีมา เป็นวัดหนึ่งที่ได้เก็บรักษาพระบรมสารีริกธาตุ อัฐิธาตุของเกจิอาจารย์ที่เป็นที่เคารพบูชาของศาสนิกชนโดยทั่วไป คือ อาจารย์เสาร์ อาจารย์มั่น รวมทั้งอัฐิของอาจารย์สิงห์ อดีตเจ้าอาวาสที่ได้บุกเบิกสร้างวัดแห่งนี้ 
วัดป่าสาลวัน เป็นสถานปฏิบัติธรรมวัดหนึ่งที่สำคัญยิ่ง ของพระสงฆ์พุทธศาสนิกชนโดยทั่วไป ถือเป็นฐานปฏิบัติธรรมที่สำคัญมาอย่างยาวนานกว่า ๗๔ ปี ด้วยเป็นแหล่งรวมของพระปฏิบัติวิปัสนากรรมฐานแห่งกองทัพธรรม 
พระคุณเจ้าแต่ละรูปที่ได้ร่วมสร้างและถือปฏิบัติยังวัดป่าสาลวันแห่งนี้ ล้วนเป็นพระที่สร้างคุณูปการให้กับวงการศาสนาอย่างใหญ่หลวง อาทิ หลวงปู่เสาร์ กันตะสีโล หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต หลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโม พระอาจารย์พร สุมโน และหลวงพ่อพุธ ฐานิโย พระคุณเจ้าทุกรูปดังที่กล่าวมานี้ล้วนแล้วแต่เป็นที่นับถือศรัทธาของสาธุชนอย่างไม่เสื่อมคลาย แม้จะมรณภาพละสังขารไปแล้วก็ตาม 
ด้วยศรัทธาที่เปี่ยมในความเป็นอริยสงฆ์แห่งพระพุทธศาสนา จึงเป็นแนวคิดการก่อสร้างบูรพาจารย์เจดีย์ หลวงพ่อพุธ ฐานิโย ในเวลาต่อมา เพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งการระลึกถึงในวัตรปฏิบัติ และเป็นสถานที่กราบไหว้บูชาบูรพาจารย์แต่ละรูป พร้อมทั้งยังเป็นแนวทางประพฤติปฏิบัติอันเป็นแบบอย่างของสงฆ์และฆราวาสสืบไป 

สำคัญที่สุด ณ บูรพาจารย์เจดีย์แห่งนี้ ยังเป็นที่ประดิษฐานองค์พระบรมสารีริกธาตุ อัฐิธาตุแห่งบูรพาจารย์และของหลวงพ่อพุธ เพื่อให้พุทธศาสนิกชน และประชาชนไว้เป็นที่เคารพกราบไหว้ เป็นเครื่องเตือนใจเตือนสติในแนวทางแห่งพระธรรมคำสอน อันจะส่งผลให้เกิดความสงบร่มเย็น ต่อสังคม